Archives for ธันวาคม 2014

อาคารประเภทใด? เมื่อประสงค์จะรื้อถอนอาคาร ต้องขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น?

สุภาษิตว่า:- การพบกันคือการเริ่มต้นของการจาก, อาคารก็เหมือนชีวิตมนุษย์ เมื่อถึงที่สุดย่อมหลีกไม่พ้นการจากลา อาคารเก่าคร่ำคร่า ผ่านมาทั้งสุข เศร้า เหงาและรัก ถึงเวลาก็ต้องจากกัน การรื้อถอนเป็นปลายทาง แต่การรื้อถอนอาคาร จะกระทำการได้ตามอำเภอใจก็หาไม่ เพราะมีกฎหมายควบคุมไว้ ตัวบทว่าอย่างไร เราลองมาพิจารณาดูกัน:-

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ แก้ไขโดย พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๒๒ บัญญัติไว้ว่า:- ผู้ใดจะรื้อถอนอาคารดังต่อไปนี้ ต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและดำเนินการตามมาตรา ๓๙ ทวิ

(๑) อาคารที่มีส่วนสูงเกินสิบห้าเมตร ซึ่งอยู่ห่างจากอาคารอื่นหรือที่สาธารณะน้อยกว่าความสูงของอาคาร

(๒) อาคารที่อยู่ห่างจากอาคารอื่นหรือที่สาธารณะน้อยกว่าสองเมตร

พิจารณาจากวรรคหนึ่งแยกองค์ประกอบได้ ดังนี้ :-

  1. ผู้ใด
  2. จะรื้อถอนอาคารดังต่อไปนี้
  3. ต้องได้รับใบอนุญาต
  4. จากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
  5. หรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
  6. และดำเนินการตามมาตรา ๓๙ ทวิ

ดูต่อมาที่ (๑) จะแยกองค์ประกอบได้ ดังนี้:-

  1.  อาคาร
  2. ที่มีส่วนสูง
  3. เกินสิบห้าเมตร
  4. ซึ่งอยู่ห่างจากอาคารอื่น
  5. หรือที่สาธารณะ
  6. น้อยกว่าความสูงของอาคาร

และสุดท้ายใน (๒) จะแยกองค์ประกอบได้ ดังนี้:-

  1. อาคาร
  2. ที่อยู่ห่าง
  3. จากอาคารอื่น
  4. หรือที่สาธารณะ
  5. น้อยกว่าสองเมตร 

จะเห็นได้ว่า เมื่อพิจารณาจากวรรคหนึ่ง การรื้อถอนอาคารจะทำได้ในสองแนวทาง คือ:-

  • แนวทางที่๑ ขอรับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
  • แนวทางที่๒ ไม่ต้องขออนุญาต แต่แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น แล้วดำเนินการตามมาตรา ๓๙ ทวิ

เมื่อพิจารณาต่อมาใน (๑)และ(๒) ซึ่ง จะกล่าวถึงลักษณะของอาคาร ที่ต้องขอหรือแจ้ง ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ทั้งนี้ เมื่ออ่านบทบัญญัติจากทั้งสองวงเล็บ ย่อมเห็นได้ว่า กฎหมายแบ่งอาคารออกเป็น ๒ กรณี คือ:- 

  • กรณีที่ ๑ อาคารที่ส่วนสูงเกิน ๑๕ เมตร
  • กรณีที่ ๒ อาคารโดยทั่วไป

เราวิเคราะห์อะไร ออกมาจากบทบัญญัติของกฎหมายได้บ้าง ตามสายตาของสถาปนิกอย่างกระผม วิเคราะห์ ออกมาได้ ดังนี้:-

กรณีอาคารโดยทั่วไป หากอยู่ห่างจากอาคารอื่น หรือที่สาธารณะ น้อยกว่า ๒ เมตร เมื่อจะทำการรื้อถอนอาคาร ก็ต้องขอหรือแจ้ง เจ้าพนักงานท้องถิ่น แต่ถ้าห่างตั้งแต่ ๒ เมตรขึ้นไป เช่น ห่าง ๒ เมตร ๓ เมตร ๔ เมตร…. ก็ไม่ต้องขอหรือแจ้ง ส่วน กรณี ถ้าเป็นอาคารประเภทที่สูงเกิน ๑๕ เมตร นั้น ระยะห่างจากอาคารอื่นหรือที่สาธารณะ ๑ เมตร ๒ เมตร ๓ เมตร ๔ เมตร… จนถึงระยะน้อยกว่าความสูงอาคารที่จะรื้อถอน ก็ต้องขอหรือแจ้ง ต่อเมื่อระยะห่างเท่ากับหรือมากกว่าความสูงอาคาร เมื่อใด จึงจะไม่ต้องขอหรือแจ้งรื้อถอนอาคาร

อาคารอื่น ในที่นี้ ย่อมเป็นอาคารทุกประเภทตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ซึ่ง บัญญัตินิยามไว้ในมาตรา ๔ โดยต้องดูกฎกระทรวง กำหนดสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นเป็นอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๔๔ ที่ออกโดยอาศัยมาตรา ๔ ประกอบด้วย เช่น สระว่ายน้ำภายนอกอาคารที่มีความจุ ๑๐๐ ลูกบาศก์เมตร ก็เป็นอาคารแล้ว หรือ รั้ว กำแพง ประตู ที่สร้างติดกับที่สาธารณะ แม้กระทั่งที่จอดรถ ป้าย ที่มิใช่อาคารโดยสภาพ ก็ล้วนเป็นอาคารอื่น ตามบทบัญญัตินี้ด้วยกันทั้งสิ้น ทั้งนี้ ที่สาธารณะ ก็โปรดอย่าเข้าใจว่า คือ เฉพาะทางสาธารณะ เท่านั้น เพราะ ไม่ว่าจะเป็น สวนสาธารณะ วัดวาอาราม สถานที่ราชการ ฯลฯ ก็ล้วนเป็นที่สาธารณะตามความหมายของบทบัญญัตินี้ทุกประการ

ที่มา: ชมรมสถาปนิกกรุงเทพมหานคร

เว็ปไซด์: http://oknation.nationtv.tv/blog/architect-bma-club/2010/12/25/entry-1

 

Read more

คู่มือสำหรับประชาชน: การขออนุญาตรื้อถอนอาคารตามมาตรา 22

คู่มือสำหรับประชาชน: การขออนุญาตรื้อถอนอาคารตามมาตรา 22

หน่วยงานที่รับผิดชอบ:กรมโยธาธิการและผังเมือง

กระทรวง:กระทรวงมหาดไทย

  1. ชื่อกระบวนงาน:การขออนุญาตรื้อถอนอาคารตามมาตรา 22
  2. หน่วยงานเจ้าของกระบวนงาน:กรมโยธาธิการและผังเมือง
  3. ประเภทของงานบริการ:กระบวนงานบริการที่ให้บริการในส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น (กระบวนงานบริการที่เบ็ดเสร็จในหน่วยเดียว)
  4. หมวดหมู่ของงานบริการ:อนุญาต/ออกใบอนุญาต/รับรอง
  5. กฎหมายที่ให้อำนาจการอนุญาต หรือที่เกี่ยวข้อง:
1) พระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.. 2522

 

  1. ระดับผลกระทบ: บริการที่มีความสำคัญด้านเศรษฐกิจ/สังคม
  2. พื้นที่ให้บริการ: ท้องถิ่น
  3. กฎหมายข้อบังคับ/ข้อตกลงที่กำหนดระยะเวลา พระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 กฏกระทรวงข้อบัญญัติท้องถิ่นและประกาศกระทรวงมหาดไทยที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522

ระยะเวลาที่กำหนดตามกฎหมาย / ข้อกำหนด ฯลฯ           45วัน

  1. ข้อมูลสถิติ

     จำนวนเฉลี่ยต่อเดือน0     

     จำนวนคำขอที่มากที่สุด 0

     จำนวนคำขอที่น้อยที่สุด 0

  1. ชื่ออ้างอิงของคู่มือประชาชน [สำเนาคู่มือประชาชน] การขออนุญาตรื้อถอนอาคารตามมาตรา 22 21/05/2558 15:48
  2. ช่องทางการให้บริการ
1) สถานที่ให้บริการที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะดำเนินการรื้อถอนอาคาร /ติดต่อด้วยตนเองณหน่วยงาน

ระยะเวลาเปิดให้บริการ เปิดให้บริการวันจันทร์ถึงวันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดที่ทางราชการกำหนด) ตั้งแต่เวลา 08:30 – 16:30 . (มีพักเที่ยง)

หมายเหตุ

 

  1. หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข(ถ้ามี) ในการยื่นคำขอ และในการพิจารณาอนุญาต

ผูใดจะรื้อถอนอาคารที่มีส่วนสูงเกิน 15เมตรซึ่งอยู่ห่างจากอาคารอื่นหรือที่สาธารณะน้อยกว่าความสูงของอาคารและอาคารที่อยู่ห่างจากอาคารอื่นหรือที่สาธารณะน้อยกว่า๒เมตรต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องตรวจพิจารณาและออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบภายใน 45วันนับแต่วันที่ได้รับคำขอในกรณีมีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกิน 2คราวคราวละไม่เกิน 45วันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละคราวให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้นั้นแล้วแต่กรณี
 

  1. ขั้นตอน ระยะเวลา และส่วนงานที่รับผิดชอบ
ที่ ประเภทขั้นตอน รายละเอียดของขั้นตอนการบริการ ระยะเวลาให้บริการ ส่วนงาน / หน่วยงานที่รับผิดชอบ หมายเหตุ
1) การตรวจสอบเอกสาร

 

ยื่นขออนุญาตรื้อถอนอาคารพร้อมเอกสาร

 

1 วัน (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ที่จะขออนุญาตรื้อถอนอาคาร)
2) การพิจารณา

 

เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจพิจารณาเอกสารประกอบการขออนุญาต

 

2 วัน (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ที่จะขออนุญาตรื้อถอนอาคาร)
3) การพิจารณา

 

เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองตรวจสอบสถานที่ก่อสร้างจัดทำผังบริเวณแผนที่สังเขปตรวจสอบกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเช่นประกาศกระทรวงคมนาคมเรื่องเขตปลอดภัยในการเดินอากาศเขตปลอดภัยทางทหารฯและพรบ.จัดสรรที่ดินฯ

 

7 วัน (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ที่จะขออนุญาตรื้อถอนอาคาร)
4) การลงนาม/คณะกรรมการมีมติ

 

เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจพิจารณาแบบแปลนและพิจารณาออกใบอนุญาต (อ.1) และแจ้งให้ผู้ขอมารับใบอนุญาตรื้อถอนอาคาร (น.1)

 

35 วัน (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ที่จะขออนุญาตรื้อถอนอาคาร)

ระยะเวลาดำเนินการรวม 45 วัน

 

  1. งานบริการนี้ผ่านการดำเนินการลดขั้นตอน และระยะเวลาปฏิบัติราชการมาแล้ว

ยังไม่ผ่านการดำเนินการลดขั้นตอน

 

  1. รายการเอกสารหลักฐานประกอบการยื่นคำขอ

15.1) เอกสารยืนยันตัวตนที่ออกโดยหน่วยงานภาครัฐ

ที่ รายการเอกสารยืนยันตัวตน หน่วยงานภาครัฐผู้ออกเอกสาร จำนวนเอกสาร
ฉบับจริง
จำนวนเอกสาร
สำเนา
หน่วยนับเอกสาร หมายเหตุ
1) บัตรประจำตัวประชาชน 0 1 ฉบับ (กรณีบุคคลธรรมดา)
2) หนังสือรับรองนิติบุคคล 0 1 ชุด (กรณีนิติบุคคล)

 

15.2) เอกสารอื่น ๆ สำหรับยื่นเพิ่มเติม

ที่ รายการเอกสารยื่นเพิ่มเติม หน่วยงานภาครัฐผู้ออกเอกสาร จำนวนเอกสาร
ฉบับจริง
จำนวนเอกสาร
สำเนา
หน่วยนับเอกสาร หมายเหตุ
1) แบบคำขออนุญาตรื้อถอนอาคาร  (แบบข. 1) 1 0 ชุด (เอกสารในส่วนของผู้ขออนุญาต)
2) หนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของผู้ออกแบบขั้นตอนวิธีการและสิ่งป้องกันวัสดุร่วงหล่นในการรื้อถอนอาคาร (กรณีที่เป็นอาคารมีลักษณะขนาดอยู่ในประเภทเป็นวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม) 1 0 ชุด (เอกสารในส่วนของผู้ขออนุญาต)
3) โฉนดที่ดินน.ส.3 หรือส.ค.1 ขนาดเท่าต้นฉบับทุกหน้าพร้อมเจ้าของที่ดินลงนามรับรองสำเนาทุกหน้ากรณีผู้ขออนุญาตไม่ใช่เจ้าของที่ดินต้องมีหนังสือยินยอมของเจ้าของที่ดินให้รื้อถอนอาคารในที่ดิน 0 1 ชุด (เอกสารในส่วนของผู้ขออนุญาต)
4) ใบอนุญาตให้ใช้ที่ดินและประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรมหรือใบอนุญาตฯฉบับต่ออายุหรือใบอนุญาตให้ใช้ที่ดินและประกอบกิจการ (ส่วนขยาย) พร้อมเงื่อนไขและแผนผังที่ดินแนบท้าย (กรณีอาคารอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม) 1 0 ชุด (เอกสารในส่วนของผู้ขออนุญาต)
5) กรณีที่มีการมอบอำนาจต้องมีหนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 30 บาทพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนสำเนาทะเบียนบ้านหรือหนังสือเดินทางของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ 1 0 ชุด (เอกสารในส่วนของผู้ขออนุญาต)
6) บัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคลผู้รับมอบอำนาจเจ้าของที่ดิน (กรณีเจ้าของที่ดินเป็นนิติบุคคล) 0 1 ชุด (เอกสารในส่วนของผู้ขออนุญาต)
7) กรณีที่มีการมอบอำนาจต้องมีหนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 30 บาทพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนสำเนาทะเบียนบ้านหรือหนังสือเดินทางของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนของผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคลผู้รับมอบอำนาจเจ้าของอาคาร (กรณีเจ้าของอาคารเป็นนิติบุคคล) 0 1 ชุด (เอกสารในส่วนของผู้ขออนุญาต)
8) หนังสือรับรองของสถาปนิกผู้ออกแบบพร้อมสำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม (กรณีที่เป็นอาคารมีลักษณะขนาดอยู่ในประเภทวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม) 1 0 ชุด (เอกสารในส่วนของผู้ออกแบบและควบคุมงาน)
9) หนังสือรับรองของวิศวกรผู้ออกแบบพร้อมสำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (กรณีที่เป็นอาคารมีลักษณะขนาดอยู่ในประเภทวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม) 1 0 ชุด (เอกสารในส่วนของผู้ออกแบบและควบคุมงาน)
10) แผนผังบริเวณแบบแปลนรายการประกอบแบบแปลนที่มีลายมือชื่อพร้อมกับเขียนชื่อตัวบรรจงและคุณวุฒิที่อยู่ของสถาปนิกและวิศวกรผู้ออกแบบตามกฎกระทรวงฉบับที่ 10 (พ.ศ.2528) 1 0 ชุด (เอกสารในส่วนของผู้ออกแบบและควบคุมงาน)

 

  1. ค่าธรรมเนียม
1) เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกฎกระทรวงฉบับที่ 7 .. 2528 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.. 2522

 

ค่าธรรมเนียม0 บาท

หมายเหตุ

 

  1. ช่องทางการร้องเรียน
1) ช่องทางการร้องเรียนกรุงเทพมหานครร้องเรียนผ่านกรมโยธาธิการและผังเมือง
หมายเหตุ(1. ทางอินเทอร์เน็ต (http://www.dpt.go.th)
2.
ทางโทรศัพท์ (.พระราม 9 : 02-201-8000 , .พระรามที่ 6 : 02-299-4000)
3.
ทางไปรษณีย์ (224 .พระราม 9 แขวงห้วยขวางเขตห้วยขวางกรุงเทพฯ 10320
และ 218/1 .พระรามที่ 6 แขวงสามเสนในเขตพญาไทกรุงเทพฯ 10400)
4.
ศูนย์ดำรงธรรมกรมโยธาธิการและผังเมือง (โทร. 02-299-4311-12)
5.
ร้องเรียนด้วยตนเอง
6.
ตู้รับฟังความคิดเห็น (ตั้งอยู่ณศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารของราชการถนนพระรามที่ 6)
)
2) ช่องทางการร้องเรียนจังหวัดอื่นๆร้องเรียนต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
หมายเหตุ(ผ่านศูนย์ดำรงธรรมประจำจังหวัดทุกจังหวัด)
3) ช่องทางการร้องเรียนศูนย์บริการประชาชนสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ( เลขที่ 1 .พิษณุโลกเขตดุสิตกทม. 10300 / สายด่วน 1111 / www.1111.go.th / ตู้ปณ.1111 เลขที่ 1 .พิษณุโลกเขตดุสิตกทม. 10300)

 

  1. ตัวอย่างแบบฟอร์ม ตัวอย่าง และคู่มือการกรอก
ไม่มีแบบฟอร์ม ตัวอย่าง และคู่มือการกรอก

 

  1. หมายเหตุ

 

วันที่พิมพ์ 16/07/2558
สถานะ เผยแพร่คู่มือบนเว็บไซต์แล้ว
จัดทำโดย อภิชาติ. วงษา
อนุมัติโดย สินิทธิ์บุญสิทธิ์
เผยแพร่โดย ANUSORN JIRAPITAK

 

Read more

การรื้อถอนบ้านยังไง ให้ถูกต้องตามกฎหมาย

การรื้อถอนบ้านยังไง ให้ถูกต้องตามกฎหมาย

ในการสร้างบ้านบางท่านมีบ้านเดิมอยู่แล้ว แต่อยู่ในสภาพทรุดโทรมหรือมีความต้องการจะรื้อบ้านสิ่งปลูกสร้างเดิมก่อนที่จะปลูกบ้านหลังใหม่ ซึ่งในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเดิมนั้น จะต้องมีขั้นตอนของการขออนุญาตจากทางราชการด้วยครับ หากไม่แจ้งแล้วไปทำการรื้อถอน พอไปขออนุญาตสร้างบ้านใหม่ เจ้าหน้าที่จะสวมทะเบียนตามมูลค่าเดิม ทำให้บ้านใหม่มีมูลค่าเท่าบ้านเดิมทั้งที่จริง ๆ แล้วอาจจะมีราคามากกว่า ดังนั้นเราควรแจ้งรื้อถอนเพื่อจะได้ลบข้อมูลเดิมออกแล้วใส่ข้อมูลใหม่เข้าไปแทน ถ้าในอนาคตต้องการใช้บ้านเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันจะได้ไม่เกิดปัญหาภายหลัง นอกจากนั้น หากเราทำการรื้อถอนโดยไม่ได้ขออนุญาตแล้ว จะถูกดำเนินคดีย้อนหลังได้ ดังนั้นในการรื้อถอนบ้านเราควรทำตามขั้นตอนทางกฎหมายให้เรียบร้อย

จะขอยกข้อกฎหมายที่บัญญัติในเรื่องการรื้อถอนอาคารให้เป็นข้อมูลไว้สักนิดเพื่อให้เข้าใจว่า ยังไงก็ตามเมื่อต้องการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างต้องขออนุญาตจากทางราชการก่อน ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 “ผู้ใดจะรื้อถอนอาคารที่มีส่วนสูงเกิน 15 เมตร ซึ่งอยู่ห่างจากอาคารอื่นหรือที่สาธารณะน้อยกว่าความสูงของอาคาร  และอาคารที่อยู่ห่างจากอาคารอื่นหรือที่สาธารณะน้อยกว่า 2 เมตรต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องตรวจพิจารณาและออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาต”

โดยเอกสารที่จะใช้เพื่อขออนุญาตรื้อถอนมีดังนี้
1. เขียนแบบบ้าน ประกอบไปด้วย
1.1 ) แบบแปลน ทุกชั้น
1.2 ) รูปด้าน 2รูป
1.3 ) รูปตัดอย่างน้อย 2 รูป เหมือนผ่ารถยนต์
1.4 ) รายการประกอบแบบ (ลอกตามแบบราชการ) วัสดุที่ใช้ของอาคาร กรรมวิธีในการรื้อถอน ตามกม .ตามหลักการรื้อถอนอาคาร ไม่เกิน 45 วัน (ทางกฎหมาย)

2. คำร้อง ( ข.1)
3. บัตรประชาชน
4. ใบยินยอมที่ดิน กรณีไม่ใช่ที่ของเรา
5.บัตรทะเบียนบ้านเจ้าของที่ดิน
6.สำเนาโฉนด

ที่เหลือจะ เป็นใบเกี่ยวกับข้องวิศวกรโครงสร้าง, สถาปนิก ที่เขียนแบบให้กับเจ้าของบ้าน  หรือส่วนอื่นๆ ขึ้นอยู่กับปัญหาเฉพาะของแต่ละราย หากมีข้อสงสัย สามารถโทรสอบถามไปยังสำนักงานเขตที่บ้านท่านอยู่ในสังกัดของแต่ละพื้นที่ตามความสะดวกเลยครับ สำหรับระยะเวลาของการอนุมัติใบขออนุญาตรื้อถอนนั้นจะอยู่ประมาณ 1-2 สัปดาห์ การขออนุญาตรื้อถอนจะไม่มีค่าธรรมเนียมตรวจแบบ แต่จะมีค่าขอใบอนุญาต 20 บาทเท่านั้นครับ

การจะสร้างบ้านหรือรื้อถอนบ้าน เพื่อให้ถูกต้องและไม่มีปัญหาในข้อกฎหมายต่าง ๆ ภายหลัง ควรจะปรึกษาหรือหาข้อมูลก่อนที่จะลงมือทำ เพราะหากทำไปโดยผิดข้อกฎหมายแล้ว จะพบว่าปัญหาที่ตามมาอาจจะยุ่งยากมากกว่าที่คิด ดังนั้นทำให้ถูกต้องตั้งแต่แรก สบายใจกว่าครับ

Read more

การควบคุมและตรวจสอบอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง

งานขุดดินและถมดิน

งานตรวจสอบอาคาร 

รายละเอียดผู้ตรวจสอบอาคาร (ผู้ตรวจสอบใหญ่) สำหรับผู้ตรวจสอบอาคาร

 

งานตรวจสอบป้าย

งานควบคุมอาคาร  

ใบอนุญาต ใบรับรองต่างๆ

คำขอต่างๆ

หนังสือแจ้งการดำเนินการต่างๆ

คำสั่งต่างๆ

 

การควบคุมโรงมหรสพ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Read more

ตัวอย่าง การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร/ดัดแปลงอาคาร/ต่อเติมอาคารบ้านชั้นเดียว

การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร/ดัดแปลงอาคาร/ต่อเติมอาคารบ้านชั้นเดียว


เอกสารประกอบการขออนุญาต

1.    สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนา   จำนวน 1 ชุด
2.    สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมรับรองสำเนา   จำนวน 1 ชุด
3.    สำเนาเอกสารสิทธิ์ที่ดิน พร้อมรับรองสำเนา   (ถ่ายห้ามย่อ หน้า-หลัง)  จำนวน 1 ชุด
4.    แบบแปลน    จำนวน 5 ชุด*เซ็นในแบบทุกใบ ทุกชุด
5.    แบบคำขอของเทศบาล (ไฟล์ 1)    จำนวน 1 ชุด  (12 ใบ)

***ยื่นขอในนามเจ้าของที่ดินเท่านั้น
***กรณีผู้ยื่นขออนุญาตเป็นนิติบุคคล ให้แนบหนังสือรับรองนิติบุคคล จำนวน 1 ชุด

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มเอกสารที่เกี่ยวข้อง

  1. แบบฟอร์มการให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการยื่นแบบขออนุญาตก่อสร้างอาคาร (แบบ อค.1)
  2. บัญชีสรุปขั้นตอนระยะเวลาในการตรวจแบบแปลน
  3. เอกสารประกอบการยื่นขออนุญาตก่อสร้าง/ดัดแปลง/ต่อเติมอาคาร
  4. รายงานการตรวจแบบขออนุญาตก่อสร้างอาคาร / ดัดแปลง / รื้อถอนอาคาร
  5. คำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร/ดัดแปลงอาคาร/ รื้อถอนอาคาร
  6. หนังสือแสดงความยินยอมผู้ควบคุมงานตามมาตรา 29
  7. หนังสือรับรองว่าจะรับผิดชอบความเสียหายข้างเคียง
  8. หนังสือตกลงก่อสร้างอาคารชิดเขตที่ดิน
  9. หนังสือตกลงทำผนังร่วมกัน
  10. หนังสือยินยอมให้ทำการปลูกสร้างอาคารในที่ดิน
Read more