การคิดราคาประเมินสิ่งปลูกสร้าง

หากท่านต้องการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างด้วย หรือ โอนเฉพาะสิ่งปลูกสร้าง สามารถคำนวณราคาประเมินสิ่งปลูกสร้าง ดังนี้
1.ตรวจสอบจากบัญชีราคาประเมินสิ่งปลูกสร้าง ว่าสิ่งปลูกสร้างของท่านเป็นชนิดใด ราคาประเมินตารางเมตรละเท่าใด
2.คำนวณพื้นที่สิ่งปลูกสร้างทั้งหมด(หากมีหลายชั้นต้องคิดทุกชั้น)
​ – เช่นสิ่งปลูกสร้างของท่านเป็นบ้านพักอาศัยไม้สองชั้น กว้าง 10 เมตร ยาว 15 เมตร จะมีพื้นที่เท่ากับ (10*15)*2 = 300 ตารางเมตร
3.นำพื้นที่ทั้งหมด คูณด้วย ราคาประเมิน
– บ้านพักอาศัยไม้สองชั้น (ราคาประเมินตารางเมตรละ 6,000 บาท) จะได้ราคาประเมิน 1,800,000 บาท
4.นำราคาประเมินที่ได้ไปหักค่าเสื่อมราคา
– สมมุติว่าปลูกสร้างมา 10 ปี (ค่าเสื่อมราคาอาคารไม้ สร้างมา 10 ปี หักค่าเสื่อม 40%)
ค่าเสื่อมราคาเท่ากับ (1,800,000*40)/100 = 720,000
– ราคาประเมินที่นำไปใช้คำนวณค่าโอนเท่ากับ 1,800,000-720,000 = 1,080,000 บาท

Read more

เปิดร้านขายไม้แปรรูปต้องมีใบอนุญาตไหม

ข้อ 1. พระราชบัญญัติป่าไม้พุทธศักราช ๒๔๘๔มาตรา ๔๘ ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้
………….ห้ามมิให้ผู้ใด
….1.1 แปรรูปไม้
….1.2 ตั้งโรงงานแปรรูปไม้
….1.3 ตั้งโรงค้าไม้แปรรูป
….1.4 มีไม้สักแปรรูปไม่ว่าจำนวนเท่าใดไว้ในครอบครอง หรือมี
ไม้แปรรูปชนิดอื่นเป็นจำนวนเกิน ๐.๒๐ ลูกบาศก์เมตรไว้ในครอบครอง

เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงและในการอนุญาต

ข้อ 2. บทกำหนดโทษ มาตรา ๗๓ ผู้ใดฝ่าฝืหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ มาตรา ๑๓ มาตรา ๓๑ หรือ มาตรา ๔๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีความผิดตามมาตรานี้ ถ้าการกระทำผิดนั้นเกี่ยวกับ
(๑) ไม้สัก ไม้ยาง หรือไม้หวงห้ามประเภท ข. หรือ
(๒) ไม้อื่นเป็นต้นหรือเป็นท่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างรวมกันเกิน
ยี่สิบต้นหรือท่อน หรือรวมปริมาตรไม้เกินสี่ลูกบาศก์เมตร หรือไม้ที่ได้แปรรูปแล้วรวมปริมาตรไม้เกินสองลูกบาศก์เมตรผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองแสนบาท

ข้อ 3. ทั่วประเทศ ขณะนี้ประกาศเป็นเขตควบคุมการแปรรูปไม้

ข้อ 4. พนักงานสอบสวนที่ สนใจ หรืออยู่ในเขตพื้นที่ป่าไม้ “อิสานใต้”
ฝากประเด็น หรือตัวบทที่ น่าสนใจ มองข้ามไป อาจมีปัญหาในการปฏิบัติ
ในเรื่องของ มีไม้แปรรูป แปรรูปไม้ ทำไม้ มาตราหลัก ๆ ดังนี้

พระราชบัญญัติป่าไม้พุทธศักราช ๒๔๘๔
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
(๑) “ป่า” หมายความว่า ที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดิน

(๒) “ไม้” หมายความว่า ไม้สักและไม้อื่นทุกชนิดที่เป็นต้น เป็นกอ เป็นเถา
รวมตลอดถึงไม้ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ไม้ไผ่ทุกชนิด ปาล์ม หวาย ตลอดจนราก ปุ่ม ตอ เศษปลาย และกิ่งของสิ่งนั้นๆ ไม่ว่าจะถูกตัด ทอน เลื่อย ผ่า ถาก ขุด หรือกระทำโดยประการอื่นใด

(๓) “แปรรูป” หมายความว่า การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่ไม้ดังนี้ คือ
ก. เลื่อย ผ่า ถาก ขุด หรือกระทำด้วยประการอื่นใดแก่ไม้ให้เปลี่ยนรูปหรือ
ขนาดไปจากเดิม นอกจากการลอกเปลือกหรือตบแต่งอันจำเป็นแก่การชักลาก
ข. เผา อบ บด หรือกระทำด้วยประการอื่นใดแก่ไม้ให้เปลี่ยนแปรสภาพไป
จากเดิม เพื่อถือเอาวัตถุธาตุหรือผลพลอยได้จากไม้นั้น(๔)

๔ “ไม้แปรรูป” หมายความว่า ไม้ที่ได้แปรรูปแล้ว และหมายความรวมถึงไม้
ที่อยู่ในสภาพพรางว่าเป็นสิ่งปลูกสร้าง หรืออยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างอันไม่ชอบด้วยลักษณะสิ่งปลูกสร้างทั่วๆ ไปหรือที่ผิดปกติวิสัย หรืออยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ที่ไม่ชอบด้วยลักษณะของเครื่องใช้ที่ใช้เป็นปกติในท้องที่นั้นหรือที่ผิดปกติวิสัยไม้ที่อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรืออยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ ทั้งนี้ตลอดเวลาที่อยู่ในสภาพเช่นนั้น รวมทั้งไม้ที่เคยอยู่ในสภาพดังกล่าวและผู้ครอบครองพิสูจน์ได้ว่าได้เคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีสำหรับไม้อื่นที่มิใช่ไม้สักและห้าปีสำหรับไม้สัก มิให้ถือว่าเป็นไม้แปรรูป

(๕) “ทำไม้” หมายความว่า ตัด ฟัน กาน โค่น ลิด เลื่อย ผ่า ถาก ทอน ขุด ชักลากไม้ในป่า หรือนำไม้ออกจากป่าด้วยประการใดๆ และหมายความรวมถึงการกระทำดังกล่าวกับไม้สักหรือไม้ยางที่ขึ้นอยู่ในที่ดินที่มิใช่ป่า หรือการนำไม้สักหรือไม้ยางออกจากที่ดินที่ไม้นั้นๆขึ้นอยู่ด้วย

(๗) “ของป่า” หมายความว่า บรรดาของที่เกิดหรือมีขึ้นในป่าตามธรรมชาติ คือ
ก. ไม้ รวมทั้งส่วนต่างๆ ของไม้ ถ่านไม้ น้ำมันไม้ ยางไม้ ตลอดจนสิ่งอื่นๆ
ที่เกิดจากไม้
ข. พืชต่างๆ ตลอดจนสิ่งอื่นๆ ที่เกิดจากพืชนั้น
ค. รังนก ครั่ง รวงผึ้ง น้ำผึ้ง ขี้ผึ้ง และมูลค้างคาว
ง. หินที่ไม่ใช่แร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่
และหมายความรวมถึงถ่านไม้ที่บุคคลทำขึ้นด้วย

(๑๐) “นำเคลื่อนที่” หมายความว่า ชักลาก หรือทำให้ไม้หรือของป่าเคลื่อนจาก
ที่ไปด้วยประการใดๆ

(๑๓) “โรงงานแปรรูปไม้” หมายความว่า โรงงานหรือสถานที่ใดซึ่งจัดขึ้นไว้เป็นที่ทำการแปรรูปไม้ รวมถึงบริเวณโรงงานหรือสถานที่นั้นๆ ด้วย

(๑๔) “โรงค้าไม้แปรรูป” หมายความว่า สถานที่ที่ค้าไม้แปรรูป หรือที่มีไม้แปรรูปไว้เพื่อการค้า รวมถึงบริเวณสถานที่นั้นๆ ด้วย

มาตรา ๑๑ ผู้ใดทำไม้ หรือเจาะ หรือสับ หรือเผา หรือทำอันตรายด้วยประการใดๆ แก่ไม้หวงห้าม ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือได้รับสัมปทานตามความในพระราชบัญญัตินี้ และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงหรือในการอนุญาต

มาตรา ๒๕ ผู้ใดนำไม้ที่มิใช่ไม้หวงห้ามเข้าเขตด่านป่าไม้ ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่รัฐมนตรีกำหนด เว้นแต่นำไปเพื่อใช้สอยส่วนตัวภายในเขตท้องที่จังหวัดที่ทำไม้นั้น

มาตรา ๒๙ ผู้ใดเก็บหาของป่าหวงห้ามหรือทำอันตรายด้วยประการใดๆ แก่ของป่าหวงห้ามในป่า ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และต้องเสียค่าภาคหลวง กับทั้งต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงหรือในการอนุญาต

มาตรา ๒๙ ทวิ ห้ามมิให้ผู้ใดค้าหรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งของป่าหวงห้ามเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงและในการอนุญาต

มาตรา ๓๙ ผู้ใดนำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่ ต้องมีใบเบิกทางของพนักงาน
เจ้าหน้าที่กำกับไปด้วยตามข้อกำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๓๙ ทวิ ผู้รับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้ หรือผู้รับอนุญาตตั้งโรงค้า
ไม้แปรรูป อาจออกหนังสือกำกับไม้แปรรูปเพื่อให้บุคคลใดนำไม้แปรรูปเคลื่อนที่จากสถานที่ที่ได้รับอนุญาตของตนไปยังสถานที่อีกแห่งหนึ่งได้ เมื่ออธิบดีกรมป่าไม้ได้สั่งอนุญาตให้กระทำเช่นนั้นได้ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมป่าไม้กำหนด หนังสือกำกับไม้แปรรูปให้ใช้แบบที่อธิบดีกรมป่าไม้กำหนด และให้ถือเสมือนหนึ่งเป็นใบเบิกทางของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๓๙

[b]มาตราหลัก และ ใช้บ่อยมาก ถึงมากที่สุด[/b]

มาตรา ๔๘ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ ห้ามมิให้ผู้ใดแปรรูปไม้ ตั้งโรงงานแปรรูปไม้ ตั้งโรงค้าไม้แปรรูป มีไม้สักแปรรูปไม่ว่าจำนวนเท่าใดไว้ในครอบครอง หรือมีไม้แปรรูปชนิดอื่นเป็นจำนวนเกิน ๐.๒๐ ลูกบาศก์เมตรไว้ในครอบครอง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงและในการอนุญาต
เพื่อประโยชน์แห่งความในวรรคหนึ่ง ไม้ซุงหรือไม้ท่อนที่จมอยู่ในแม่น้ำลำคลอง
ในรัศมีห้าสิบเมตรของบริเวณที่ทำการแปรรูปไม้ และไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ ให้สันนิษฐานว่าเป็นไม้ที่อยู่ในความครอบครองของผู้รับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้ที่มีโรงงานอยู่ในบริเวณนั้น

…..นี่คือ มาตราหลัก…..และเป็น มาตราที่หมกเม็ดของนักร่างกฎหมาย ….ทำใหผู้ปฏิบัติ หลงประเด็น ……..กลายเป็น 157 ……..ให้ดูและสังเกตุให้ดี ……..เป็น มาตราที่ยกเว้นบางมาตรา ที่พบบ่อย ………..

มาตรา ๕๐ บทบัญญัติแห่งมาตรา ๔๘ มิให้ใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้(๑) การกระทำเพียงเลื่อย ตัด ลิด ขุด หรือถากซ้อมไม้ เพื่อทำเป็นซุงท่อน ไม้
เหลี่ยมโกลน มาดเรือโกลน เสาถาก หรือหมอนรถ หรือเพื่อทำไม้ฟืน หรือทำไม้เผาถ่าน หรือเลื่อยผ่าเพียงเพื่อความจำเป็นในการชักลาก ในเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ระบุไว้ในใบอนุญาตทำไม้ให้กระทำการนั้นๆ ได้ และผู้รับอนุญาตได้กระทำการนั้นๆ ก่อนนำไม้เคลื่อนที่จากบริเวณตอไม้
(๒) การแปรรูปไม้ที่แปรรูปมาแล้วจากไม้ซุงหรือไม้ท่อน ที่มิใช่เพื่อการค้า

(๓) การมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองที่มิใช่เพื่อการค้า โดยมีหลักฐานแสดงว่าได้
ไม้นั้นมาโดยชอบด้วยพระราชบัญญัตินี้

(๔) การแปรรูปไม้หรือมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองที่มิใช่ไม้หวงห้าม

(๕) การแปรรูปไม้โดยใช้แรงคนที่มิใช่เพื่อการค้า จากไม้หวงห้ามที่ยังมิได้แปร
รูป โดยมีหลักฐานแสดงว่าได้ไม้นั้นมาโดยชอบด้วยพระราชบัญญัตินี้

Read more

กฎหมายควบคุมการค้าไม้ของ EU…ธุรกิจแปรรูปไม้ยางพาราไทยได้หรือเสีย?

มาตรการควบคุมการค้าไม้ของกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) ที่จะบังคับใช้ในเดือนมีนาคม 2013 แม้จะไม่สร้างผลกระทบในแง่ลบต่อธุรกิจไม้ยางพารามากนัก แต่ไทยเองก็ต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับโอกาสที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากมาตรการดังกล่าว โดยเร่งสร้างระบบการออกใบรับรองความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ยางพาราและเดินหน้าเจรจาข้อตกลงการเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจ (Voluntary Partnership Agreement : VPA) กับ EU พร้อมทั้งเร่งวิจัยพัฒนาพันธุ์ยางและลงทุนยกระดับประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต
นโยบายด้านอุปทานในการปกป้องป่าไม้ (Supply side management) ในช่วงทศวรรษ 1980 ส่งผลให้ไม้ยางพาราก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ ในอดีต ต้นยางพาราที่เกษตรกรตัดโค่นเพื่อที่จะปลูกต้นใหม่ทดแทน (ต้นยางอายุราว 25-30 ปีจะให้ปริมาณน้ำยางลดลงจนไม่คุ้มกับการกรีดเพื่อเอาน้ำยาง) จะถูกเผาทิ้งหรือนำมาทำเป็นเชื้อเพลิง โดยมิได้นำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้แต่อย่างใด จนกระทั่งมีการดำเนินนโยบายปิดป่าของประเทศเขตร้อนในช่วงทศวรรษ 1980 ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนไม้ป่าเขตร้อน เช่น   ไม้สัก ไม้ประดู่ ในขณะที่ความต้องการเฟอร์นิเจอร์ไม้ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้หันมาใช้ไม้ยางพาราเพื่อทดแทนไม้ป่ามากขึ้น ซึ่งจากคุณสมบัติของไม้ยางพาราที่มีสีขาวนวล จนได้รับการขนานนามว่าเป็น “ไม้สักขาว (White Teak) หรือไม้โอ๊คมาเลเซีย (Malaysian Oak)” กอปรกับมีราคาถูกกว่าไม้เนื้อแข็งชนิดอื่นๆ อยู่ราว 40% ส่งผลให้ไม้ยางพาราได้รับความนิยมสูงและก้าวเข้ามาเป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ เห็นได้จาก สัดส่วนของการผลิตในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ของไทยในช่วง 2-3 ปีหลังนี้ มีการใช้วัตถุดิบจากไม้ยางพาราสูงถึง 80% จากที่ไม่เคยใช้มาก่อนเลยในอดีต และสัดส่วนมูลค่าการส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปต่อมูลค่าการส่งออกไม้แปรรูปรวมของไทยซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกไม้แปรรูปเขตร้อนอันดับหนึ่งของโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 26% ในปี 1992 เป็น 99% ในปี 2011 (รูปที่ 1)ในขณะที่กฎหมายควบคุมการค้าไม้ของ EU ที่จะบังคับใช้ในเดือนมีนาคม 2013 เป็นนโยบายด้านอุปสงค์ในการปกป้องป่าไม้ (Demand side management) ที่มีผลครอบคลุมถึงไม้ยางพาราที่ส่งออกไปยังตลาด EU การใช้มาตรการปกป้องป่าไม้ด้านอุปทานเพียงอย่างเดียวไม่สามารถช่วยปกป้องป่าไม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากนัก เห็นได้จากการประมาณการของ World Bank ในปี 2012 ที่พบว่า ทุกๆ สองนาที พื้นที่ป่าไม้ขนาดเท่าสนามฟุตบอล ยังคงถูกตัดโค่นโดยกลุ่มผู้ค้าไม้เถื่อน ส่งผลให้ประเทศผู้นำเข้าไม้ที่สำคัญ หันมาใช้มาตรการควบคุมด้านอุปสงค์ควบคู่กันไป โดยการห้ามนำเข้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้เถื่อนภายในประเทศ โดยล่าสุดภายใต้แผนปฏิบัติการบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ ธรรมาภิบาล และการค้า (Forest Law Enforcement, Governance and Trade : FLEGT) ของ EU ได้มีการออกกฎระเบียบควบคุมการค้าไม้ ซึ่งจะเริ่มบังคับใช้ในเดือนมีนาคม 2013 กำหนดให้ผู้นำเข้าไม้ใน EU ที่นำเข้าไม้ทุกชนิดจากประเทศที่ยังไม่ได้เจรจา VPA เพื่อหยุดการค้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ที่ผิดกฎหมายกับ EU (ไทยยังไม่ได้เริ่มดำเนินการเจรจา) จะต้องปฏิบัติตามระบบ Due Diligence โดยการเก็บข้อมูลแหล่งที่มาและพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งที่ไม้ถูกโค่น (รูปที่ 2)สำหรับผลกระทบต่อไทย คือ ผู้ประกอบการที่ส่งผลิตภัณฑ์ไม้ยางพาราไปยังตลาด EU จะต้องแบกรับภาระต้นทุนในการดำเนินการเพื่อยืนยันความถูกต้องตามกฎหมาย แต่ผลกระทบดังกล่าวยังอยู่ในวงจำกัด การที่ไม้ยางพาราไม่ได้เป็นไม้ควบคุมตาม พ.ร.บ ป่าไม้ ทำให้ไม่มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการออกใบรับรองแหล่งที่มาและความถูกต้องตามกฎหมาย ส่งผลให้ผู้ประกอบการที่ส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ยางพาราไป EU จะต้องดำเนินการขอใบรับรองจากหน่วยงานภาคเอกชนซึ่งเป็นที่ยอมรับ เช่น FSC (Forest Stewardship Council) ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนในการทำการค้าเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ดี ผลกระทบดังกล่าวอยู่ในวงที่ค่อนข้างจำกัด เนื่องจากผลิตภัณฑ์ไม้ยางพาราแปรรูปส่วนใหญ่ของไทยราว 97% ส่งออกไปยังตลาดจีน (รูปที่ 3) แต่กระนั้นผลกระทบทางอ้อมต่อไทยอาจเพิ่มขึ้นได้ ถ้าผู้ส่งออกไม้ยางพาราถูกร้องขอใบรับรองจากผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ในจีนที่ผลิตเพื่อส่งออกต่อไปยังตลาด EU  โดยจากข้อมูลพบว่าในปี 2011 จีนมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไม้ไป EU ราว 16% ของมูลค่าการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไม้ทั้งหมด (รูปที่ 3)

แต่ในทางกลับกัน มาตรการดังกล่าวจะทำให้อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ในจีนและอาเซียนมีความต้องการใช้ไม้ที่ถูกกฎหมายเพื่อผลิตเฟอร์นิเจอร์ส่งออกไปยังตลาด EU เพิ่มขึ้นประมาณ 4 ล้านลูกบาศก์เมตร จากประมาณการขององค์การกองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF) ในปี 2008 พบว่า EU นำเข้าไม้เถื่อนราว 26 ถึง 31 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น ราว 16-19% ของปริมาณการนำเข้าไม้ทั้งหมด โดยราว 4 ล้านลูกบาศก์เมตรเป็นการนำเข้าผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้เถื่อนในจีนและอาเซียน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า เพื่อที่จะรักษาตลาดเฟอร์นิเจอร์ใน EU อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ในจีนและอาเซียนจะมีความต้องการใช้ไม้ที่ถูกกฎหมายเพื่อทดแทนไม้เถื่อนราว 4 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยความต้องการที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว จะทำให้ความต้องการใช้ไม้ยางพาราปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อธุรกิจแปรรูปไม้ยางพาราไทย ไม้ยางพาราถือได้ว่าเป็นไม้ที่มีความเสี่ยงต่ำที่จะเป็นไม้ผิดกฎหมาย (ไม้ยางพาราที่ปลูกในพื้นที่ผิดกฎหมาย เช่น พื้นที่บุกรุก ถือว่าเป็นไม้ผิดกฎหมาย)  และเป็นไม้ที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นการนำผลพลอยได้จากภาคเกษตรมาใช้ประโยชน์ ประกอบกับอุปทานไม้ป่าในจีนและอาเซียนมีแนวโน้มปรับตัวลดลง จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ผู้ประกอบการเฟอร์นิเจอร์ไม้จะต้องหันมาใช้ไม้ยางพาราเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการไม้ยางพาราแปรรูปจากไทยปรับตัวสูงขึ้น

อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการจะได้รับประโยชน์มากน้อยเพียงใดนั้น ยังขึ้นอยู่กับขีดความสามารถในการเพิ่มผลผลิต และความสามารถในการเร่งเจรจา VPA กับ EU แม้ EU จะเปิดโอกาสให้ประเทศที่ส่งออกไม้สามารถเจรจาข้อตกลงการเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจ (VPA) เพื่อที่จะได้สิทธิในการออก FLEGT License ซึ่งสามารถใช้รับรองไม้ที่ส่งเข้าไปใน EU โดยไม่ต้องผ่านระบบ Due Diligence ตั้งแต่ปี 2008 แต่จนถึงปัจจุบันไทยก็ยังไม่ได้เริ่มการเจรจากับ EU เนื่องจากกรอบการเจรจาเพิ่งได้รับการเห็นชอบจากรัฐสภาในช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา นอกจากนั้น ผลผลิตไม้ยางพาราต่อต้นของไทยยังอยู่ในระดับต่ำ (ราว 0.5 ลูกบาศก์เมตร ต่อต้น) เนื่องจากการขาดประสิทธิภาพในการเลื่อยของโรงงานแปรรูป ประกอบกับในช่วงที่ผ่านมาไทยเน้นวิจัยพันธุ์ยางพาราที่เพิ่มผลผลิตน้ำยางเป็นหลัก พร้อมทั้งการปลูกยางพาราของไทยยังเป็นการปลูกเพื่อใช้ประโยชน์จากน้ำยางมากกว่าไม้ยางพารา ทำให้เกษตรกรขาดการดูแลรักษาต้นยางพาราเพื่อที่จะให้ได้ไม้ยางพาราที่มีคุณภาพ


รูปที่ 1: ไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกไม้แปรรูปเขตร้อนอันดับหนึ่งของโลก
โดยพบว่ากว่า 99% ของไม้แปรรูปที่ส่งออกเป็นไม้ยางพารา

4589_20130221155657.jpg

ที่มา: การวิเคราะห์โดย SCBEIC จากข้อมูลของกรมป่าไม้ และองค์การไม้เขตร้อนระหว่างประเทศ (ITTO)

 

รูปที่ 2: ระบบ Due Diligence  กำหนดให้ผู้ประกอบการ EU จะต้องเก็บข้อมูลและ
ประเมินความเสี่ยงว่าไม้ที่นำเข้ามามีโอกาสที่จะเป็นไม้เถื่อนมากน้อยเพียงใด

4583_20130221151718.jpg

ที่มา: การวิเคราะห์โดย SCBEIC จากข้อมูลของ EU Timber Regulation No. 995/2010

 

รูปที่ 3: ไม้ยางพาราแปรรูปส่วนใหญ่ของไทยราว 97% ส่งออกไปจีน
ในขณะที่จีนมีมูลค่าการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไม้ไป EU ราว 16%

4584_20130221151736.jpg

ที่มา: การวิเคราะห์โดย SCBEIC จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ และ Trade map

 

รูปที่ 4: อินโดนีเซียมีความพร้อมด้านอุปทานไม้ยางพารามากกว่าไทย
เห็นได้จากพื้นที่ตัดโค่นไม้ยางพาราที่สูงกว่าไทย

4585_20130221151757.jpg

ที่มา: การวิเคราะห์โดย SCBEIC จากข้อมูล International Rubber Study Group

 

Implication.png

886_20100622103105.gif

  • ผู้ประกอบการควรร่วมมือกันจัดตั้งระบบออกใบรับรองไม้ยางพารา เพื่อให้สอดคล้องกับระบบ Due Diligence เนื่องจากวิธีดังกล่าวเป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็วที่สุด ในการที่จะทำให้ผู้ประกอบการที่ส่งออกไม้ยางพาราไป EU สามารถปฏิบัติตามกฎของ EU ที่จะบังคับใช้ในต้นเดือนมีนาคม ในขณะเดียวกันก็ต้องกระตุ้นให้ภาครัฐเร่งเจรจาจัดทำข้อตกลง VPA เพื่อที่จะสามารถได้สิทธิในการออก FLEGT License ปัจจุบันไทยยังไม่ได้เริ่มเจรจา VPA กับ EU ในขณะที่อินโดนีเซีย ซึ่งมีอุปทานไม้ยางพารามากกว่าไทย (รูปที่ 4) และกำลังส่งเสริมธุรกิจแปรรูปไม้ยางพาราได้ดำเนินการเจรจาจนเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนเวียดนามและมาเลเซียอยู่ในขั้นตอนการเจรจา ดังนั้นเพื่อที่จะรักษาระดับความสามารถในการแข่งขันและสร้างมาตรฐานของไม้ยางพาราให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ไทยจะต้องเร่งเจรจาข้อตกลง VPA กับ EU
  • นอกจากนั้น ผู้ประกอบการควรที่จะลงทุนเพื่อยกระดับประสิทธิภาพในการผลิตพร้อมทั้งกระตุ้นให้ภาครัฐลงทุนเพื่อพัฒนาวิจัยพันธุ์ยางที่ให้ทั้งน้ำยางและไม้ยางควบคู่กันไป กระบวนการแปรรูปไม้ยางพาราในปัจจุบันใช้ความรู้จากประสบการณ์ของแรงงานเป็นหลัก ส่งผลให้การผลิตไม่มีมาตรฐานที่สม่ำเสมอและมีอัตราการสูญเสียไม้ค่อนข้างสูง ประกอบกับภาวะขาดแคลนแรงงานฝีมือในโรงงานแปรรูป ผู้ประกอบการจึงควรลงทุนเพื่อนำเครื่องจักรเข้ามาใช้ในโรงงานให้มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ต้องกระตุ้นให้ภาครัฐลงทุนวิจัยพัฒนาพันธุ์ยางที่ให้ทั้งไม้และน้ำยางในอัตราที่เพิ่มขึ้น ซึ่งนอกจากจะเป็นการช่วยสร้างความมั่นคงด้านอุปทานไม้ยางพาราให้แก่ธุรกิจในอนาคตแล้ว ยังเป็นการช่วยทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย

 

ผู้เขียน: เกียรติศักดิ์ คำสี

ที่มา: https://www.scbeic.com/th/detail/product/399

Read more

ตัวอย่าง การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร/ดัดแปลงอาคาร/ต่อเติมอาคารบ้านชั้นเดียว

การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร/ดัดแปลงอาคาร/ต่อเติมอาคารบ้านชั้นเดียว


เอกสารประกอบการขออนุญาต

1.    สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนา   จำนวน 1 ชุด
2.    สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมรับรองสำเนา   จำนวน 1 ชุด
3.    สำเนาเอกสารสิทธิ์ที่ดิน พร้อมรับรองสำเนา   (ถ่ายห้ามย่อ หน้า-หลัง)  จำนวน 1 ชุด
4.    แบบแปลน    จำนวน 5 ชุด*เซ็นในแบบทุกใบ ทุกชุด
5.    แบบคำขอของเทศบาล (ไฟล์ 1)    จำนวน 1 ชุด  (12 ใบ)

***ยื่นขอในนามเจ้าของที่ดินเท่านั้น
***กรณีผู้ยื่นขออนุญาตเป็นนิติบุคคล ให้แนบหนังสือรับรองนิติบุคคล จำนวน 1 ชุด

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มเอกสารที่เกี่ยวข้อง

  1. แบบฟอร์มการให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการยื่นแบบขออนุญาตก่อสร้างอาคาร (แบบ อค.1)
  2. บัญชีสรุปขั้นตอนระยะเวลาในการตรวจแบบแปลน
  3. เอกสารประกอบการยื่นขออนุญาตก่อสร้าง/ดัดแปลง/ต่อเติมอาคาร
  4. รายงานการตรวจแบบขออนุญาตก่อสร้างอาคาร / ดัดแปลง / รื้อถอนอาคาร
  5. คำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร/ดัดแปลงอาคาร/ รื้อถอนอาคาร
  6. หนังสือแสดงความยินยอมผู้ควบคุมงานตามมาตรา 29
  7. หนังสือรับรองว่าจะรับผิดชอบความเสียหายข้างเคียง
  8. หนังสือตกลงก่อสร้างอาคารชิดเขตที่ดิน
  9. หนังสือตกลงทำผนังร่วมกัน
  10. หนังสือยินยอมให้ทำการปลูกสร้างอาคารในที่ดิน
Read more